โรงพิมพ์ ดอทคอม
หน้าหลัก โรงพิมพ์ ดอทคอม ติดต่อ โรงพิมพ์ ดอทคอม
Printing Process

ระบบการพิมพ์ ( PRINTING PROCESS)

หลังขั้นตอนการออกแบบกราฟฟิคเสร็จแล้ว ก็มาถึงการกำหนดรูปแบบของระบบการพิมพ์ที่เหมาะสมกับการนำงานพิมพ์นั้นไปใช้ ซึ่งแต่ละระบบการพิมพ์แบบต่าง ๆ มีการจัดเตรียมต้นฉบับการสั่งการและการสื่อความหมายที่แตกต่างกัน เรามาศึกษาว่าแต่ละระบบทำงานอย่างไร


  1. ระบบเลสเตอร์เพลส (Letter press)  
  2. ระบบออฟเซท (Offset)  
  3. ระบบกราเวียร์ (Gravure)  
  4. ระบบซิลค์สกรีน (Silkscreen)  

1. การพิมพ์ระบบเลสเตอร์เพลส (Letter press)
ระบบเลสเตอร์เพลส เป็นการเป็นการพิมพ์จากแม่พิมพ์พื้นนูน ซึ่งมีระดับสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่ต้องการพิมพ์หมึกจะถูกถ่ายทอด จากพื้นพิมพ์ที่อยู่สูงลงบนกระดาษโดยตรง ในขณะที่พิมพ์ตัวพิมพ์หรือแม่พิมพ์ที่ใช้ในระบบนี้จะหล่อมาจากโลหะ หรือแกะวัสดุอื่น เป็นบล๊อก เช่นบล๊อกไม้ บล๊อกยาง เป็นต้น เนื่องจากการพิมพ์นี้เป็นการพิมพ์ที่พื้นหน้าของกระดาษสัมผัสกับตัวพิมพ์ หรือแม่พิมพ์โดยตรง ฉะนั้นจึงก่อให้รอยบุ๋มชิ้นพิมพ์ปรากฏอยู่อย่างชัดเจน



2. การพิมพ์ระบบออฟเซต (Offset)
การพิมพ์ระบบออฟเซทแผ่นแม่พิมพ์เป็นโลหะพื้นแบน แม่พิมพ์จะถ่ายทอดหมึกพิมพ์ผ่านลูกโม่ยาง และลูกโม่ยางจะถ่ายทอดหมึกพิมพ์ลงในแแผ่นกระดาษอีกทอดหนึ่ง แม่พิมพ์ระบบออฟเซทเป็นแม่พิมพ์ที่มีเม็ดสกรีนที่ละเอียดกว่าระบบเลสเตอร์เพลสมากจึงสามารถพิมพ์ภาพและพิมพ์สอดสีได้ดีกว่า ระบบเลสเตอร์เพลส การพิมพ์ระบบนี้จะไม่ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัว ๆ มาใช้เลย ปัญหาตัวพิมพ์สึกหรือหักจะไม่กิดขึ้นเลย จึงสามารถพิมพ์ได้เร็วและจำนวนมาก แต่การลงทุนขึ้นต้นของระบบนี้สูงกว่ามาก การพิมพ์ในระบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับสิ่งพิมพ์ที่เป็นประเภทงานพิมพ์สอดสี สิ่งพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูงและจำนวนมาก การพิมพ์ภาพในระบบออฟเซทในปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปมาก คือมีแท่นพิมพ์คือตั้งแต่ขนาดเล็กที่ใช้ในสำนักงานจนถึงขนาดใหญ่ สามารถพิมพ์ได้เร็วมีทั้งพิมพ์ทีละสีจนถึงพิมพ์สี่สีจนถึงพิมพ์ 2 หน้าพร้อมกัน เป็นต้น
>



3. การพิมพ์ระบบกราเวียร์ (Gravure)
การพิมพ์แบบกราเวียร์เป็นการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์ระบบตรงกันข้ามกับระบบเลสเตอร์เพลสส่วนที่ต้องการพิมพ์ในการพิมพ์ ในแม่แบบนั้นจะป็นร่องลึกสำหรับขังน้ำหมึกไว้คายบนกระดาษในการพิมพ์แม่พิมพ์จะสัมผัสกับกระดาษที่ใช้พิมพ์เช่นเดียวกับ การพิมพ์ในระบบเลสเตอร์เพลสเครื่องพิมพ์ในระบบกราเวียร์สมัยใหม่ ทั้งชนิดที่พิมพ์ด้วยกระดาษม้วนจะพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าการพิมพ์ในระบบออฟเซทถึง 2 เท่าพิมพ์ได้ทั้งทีละหน้าและทีละ 2 หน้า การป้อนกระดาษเป็นเครื่องป้อนกระดาษโดยอัตโนมัติการพิมพ์ภาพถ่าย และภาพสอดสีจะมีคุณภาพดีกว่าการพิมพ์ในระบบต่าง ๆ สามารถพิมพ์ลงในกระดาษเนื้อละเอียดหรือเนื้อหยาบอย่างไร ก็ได้แต่ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์สูงกว่าระบบอื่น ดังนั้นการพิมพ์ในระบบนี้จึงเหมาะสมกับการพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง เช่น นิตรสารภาพ แคตตาล็อก ภาพแผ่นและงานพิมพ์ที่ต้องการจำนวนมาก



4. การพิมพ์ระบบซิลค์สกรีน (Silkscreen)
การพิมพ์ในระบบซิลค์สกรีนเป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์เป็นตัวกลาง หมึกพิมพ์จะผ่านแม่พิมพ์ไปปรากฏบนวัสดุที่ใช้พิมพ์ การพิมพ์ระบบนี้มักจะใช้ในงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียด ปราณีตมากนักและพิมพ์จำนวนน้อยการพิมพ์ซิลค์สกรีนจะใช้ผ้าไหม หรือผ้าเนื้อโปร่งมาขึงให้ตึงบนกรอบไม้หรือกรอบโลหะแล้วสร้างภาพที่ต้องการจะพิมพ์ขึ้นบนผ้าไหม ซึ่งมีสภาพเป็นฉากพิมพ์ปิดกั้นส่วนที่ไม่ต้องการให้เกิดเป็นภาพเมื่อนำไปพิมพ์ให้ทึบตันและปล่อยส่วนที่ต้องการพิมพ์ให้เป็นภาพโปร่งไว้ การสร้างภาพพิมพ์บนผ้าไหมมีหลายวิธีการ เช่น ระบายสีด้วยน้ำมัน แชลแล็ก น้ำยาไวแสงผสมกาวอัด เมื่อนำแม่พิมพ์ที่สร้างเสร็จแล้วไปทาบ วัสดุที่จะใช้พิมพ์ เช่นกระดาษ ผ้า แก้ว พลาสติก โลหะ แล้วหยอดสีลงบนแม่พิมพ์ ใช้ยางปาดที่ผิวหน้าเรียบปาดดันสี ให้ผ่านแม่พิมพ์ทะลุออกไปติดบนพื้นรองรับ ก็จะได้ชิ้นพิมพ์ที่ต้องการ

   
   


Rongpim Dot Com Co.,Ltd.
126/176 Soi Watcharapol, Ramintra Road, Tarang,
Bangkhen, Bangkok 10230, Thailand.

Tel./Fax : 0-2945-4861, 081 439 8106
e-mail : info@rongpim.com website : www.rongpim.com

บริษัท โรงพิมพ์ ดอท คอม จำกัด
126/176 ซอยวัชรพล ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง
เขตบางเขน กรุงเทพ ฯ 10230

โทรศัพท์/ โทรสาร : 0-2945-4861
, 081 439 8106
e-mail : info@rongpim.com website : www.rongpim.com

Printing and Leather Premium Gifts services
©2003-2018 Rongpim.com All Rights Reserved
โรงพิมพ์ บน เฟสบุ๊ค