โรงพิมพ์ ดอทคอม
หน้าหลัก โรงพิมพ์ ดอทคอม ติดต่อ โรงพิมพ์ ดอทคอม
ความรู้เกี่ยวกับกระดาษ


ประวัติความเป็นมาของกระดาษ
กระดาษ(Paper) คำว่า กระดาษ ตรงกับคำว่า Paper ในภาษาอังกฤษ และคำว่า Paper มีรากศัพท์มาจาก คำว่า Papyrus อันเป็นภาษากรีก ซึ่งเรียกว่าวัสดุสำหรับใช้เขียนที่ชาวอียิปต์ได้คิดขึ้นในภาษาไทย คำว่า กระดาษนั้นไม่ใช่คำไทย แต่สันนิษฐานว่าเป็นคำที่แปลงมาจากภาษาโปรตุเกสว่า Cartas เข้าใจว่าโปรตุเกสคงเป็นผู้นำกระดาษแบบฝรั่งเข้ามาก่อนในสมัยอยุธยา คำว่ากระดาษจึงมีใช้ติดปากมาตั้งแต่สมัยนั้น (กำธร สถิรกุล,2515:277)ชาวอียิปต์โบราณได้นำ ต้นปาปิรัส (Papyrus) ซึ่งเป็นต้นกกน้ำชนิดหนึ่ง มาใช้เป็นวัสดุในดารเขียนหนังสือเป็นเวลากว่า 5,000 ปีมาแล้ว

ในสมัยต่อมาชาติกรีกและโรมันได้หันมานิยมจารึกตัวหนังสือลงบนแผ่นหนังสัตว์ กรรมวิธีในการทำกระดาษปาปิรัสของอียิปต์นั้น กระทำโดยการจัดวางต้นกกปาปิรัสให้เป็นแนวขวางขัดกันและนำมาบทอัดจนแน่นพร้อมทั้งทำให้แห้งโดยการตากแดด ซึ่งกระบวนการการผลิกระดาษสำหรับใช้เขียนหนังสือ ในยุคโบราณก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านวัสดุและวิธีการให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้นจนถึงสมัยปัจจุบัน

ถึงแม้คำว่า Paper จะมาจาก Papyrus แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ได้ประดิษฐ์กระดาษอย่างแท้จริงกลับได้แก่ชาติจีน เมื่อ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว ไซลั่น นักประดิษฐ์ชาวจีนได้นำเศษแหเก่าๆ เศษผ้าขี้ริ้ว ตลอดจนเศษพืช นำมาต้มและทุบให้เปื่อย เมื่อนำมารวมกับน้ำก็จะเป็นเยื่อกระดาษ (Pulp) นำเยื่อกระดาษ ดังกล่าวมาเกลี่ยบน ตระแกรงตามแนวนอนปล่อยให้น้ำไหลออกจากตระแกรงแล้วนำมาบทอัดให้แห้ง ("Paper",1981:101)

ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างกระดาษปาปิรัสกับกระดาษในปัจจุบัน ก็คือ ในสมัยอียิปต์เส้นใยของต้นปาปิรัสจะถูกฝานจนเป็นแผ่นบางแล้วนำมาเรียงขวางสลับกันแต่กระดาษในปัจจุบัน เยื่อกระดาษจะถูกนำมาย่อยจากเส้นใยของพืชและเส้นใยเหล่านี้จะถูกวางอย่างไม่เป็นระเบียบ ซึ่งจะมีผลทำให้กระดาษมีความเหนียวกว่าแต่ก่อน เทคนิคการผลิตกระดาษนี้แพร่หลายจากจีนไปสู่ยุโรปตะวันตกโดยผ่านอาหรับ แต่อาหรับไม่ส่งเสริมการพิมพ็ ดังนั้นกว่าที่เทคนิคการผลิกระดาษจะเข้าสู่ยุโรปก็เป็นสมัยยุคกลางตอนปลาย

และเมื่ออังกฤษได้เริ่มตั้งโรงงานผลิตกระดาษขึ้นรั้งแรกที่เมือง Herfordshireใน ปี ค.ศ.1490 กระดาษก็ได้ทำหน้าที่แพร่ขยายวรรณกรรมออกไปอย่างกว้างขวาง และความต้องการต้องการการใช้กระดาษแม้ว่าในทุกวันนี้เยื่อกระดาษจะสามารถจะผลิตจากวัสดุได้หลายชนิด และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิตกระดาษจะสมบูรณ์ขึ้นเพียงไร แต่หลักการพื้นฐานของการผลิตกระดาษก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ในปัจจุบัน แม้จะมีกระดาษนัได้หลายพันชนิด

จำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภทดังนี้ ("Paper",1981:101)

1. กระดาษเพื่อใช้ทำบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และวัสดุก่อสร้าง
2. กระดาษพิมพ์ (Newsprint)
3. กระดาษสำหรับเขียน กระดาษปก และกระดาษสุขภัณฑ์





ชนิดของกระดาษ (Type of paper)

จากความแตกต่างของกรรมวิธีในการผลิตกระดาษความแตกต่างของเยื่อกระดาษ สารเคมีตลอดจนเครื่องจักรในการผลิต จะมีผลทำให้ลักษณะของกระดาษมีความแตกต่างกันตามวัสดุพื้นฐานในการผลิต ผู้พิมพ์จำเป็นต้องศึกษาถึงประเภทและชื่อเรียกของกระดาษเพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ ตลอดจนสามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นโดยตรงตามวัตถุประสงค์ของการผิมพ์กระดาษจะมีลักษณะ และชื่อเรียกต่างกันดังนี้ (กำธร สถิรกุล,2515:298-300)

1. กระดาษบรู๊ฟ (newsprint)
เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อไม้ป่น จึงทำให้มีราคาถูก คุณภาพต่ำ ถ้าเก็บไว้นานจะกรอบและแดงใช้พิมพ์หนังสือราคาถูกและหนังสือพิมพ์

2. กระดาษปอนด์ (bond paper)
เป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูง เยื่อกระดาษทำจากเศษผ้าผสม ด้วยสารเคมี Sulfite ฟอกให้ขาวเป็นพิเศษ เป็นกระดาษใช้พิมพ์งานที่มีค่า เช่นประกาศนียบัตรหรืกระดาษเขียนจดหมาย

3. กระดาษฟอกขาวหรือกระดาษปอนด์ขาว (Wood Free Paper) เป้นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีฟอกขาว ผลิตเป็นกระดาษเพื่อใช้เขียนหรือพิมพ์ ใช้ทำสมุด และพิมพ์หนังสือโดยทั่วไป

4. กระดาษเหนียวหรือกระดาษสีน้ำตาลห่อของ (Kraft paper)
ทำจากเยื่อ Sulphate ผสมสีน้ำตาล มีความเหนียวมากใช้ทำกระดาษห่อของหรือบรรจุภัณฑ์

5. กระดาษปก (Cover Paper)
เป็นกระดาษปอนด์ทำให้หนาเป็นพิเศษ มีความเหนียวทนทาน เพื่อใช้ทำปกหนังสือ

6. กระดาษวาดเขียน (Drawing Paper) เป็นกระดาษปอนด์ขาว แต่ทำให้เนื้อกระดาษสามารถรับสีได้ง่าย และมีผิวเหมาแก่การเขียนภาพระบายสี ดูดหมึกดูดสีไว้โดยง่าย

7. กระดาษอาร์ต(Arts,Coate paper)
เป็นกระดาษที่ได้มีการเคลือบผิวหน้าด้วยวัสดุบางอย่างให้มีผิวเรียบมัน เพื่อใช้พิมภาพที่มีรายละเอียด

8. กระดาษกล่อง (Box board) เป็นกระดาษที่ด้านหน้าทำจากเยื่อเคมี มีลักษณะเป้นกระดาษปอนด์ขาว แต่ด้านหลังทำจากเยื่อไม้ป่น หรืออาจเป็นเยื่อกระดาษเก่าซึ่งจะมีสีคล้ำ กระดาษชนิดนี้จะผลิจากเครื่องจักรชนิด Cylinder machine หลายๆชั้น

9. กระดาษโปสเตอร์ (Poster paper)
เป็นกระดาษปอนดืที่ขัดมันเรียบหน้าเดียว ส่วนอีกหน้าหนึ่งจะปล่อยให้หยาบไว้

10. กระดาษแข็ง (Hard board)
เป็นกระดาษที่ใช้ทำปกแข็งด้านในของหนังสือเมื่อใช้งานจะต้องมีกระดาษหรือวัสดุอื่นหุ้ม จึงเป็นกระดาษที่ไม่ต้องฟอกขาว ทำจากเยื่อไม้ป่นหรือเยื่อกระดาษเก่า เนื้อกระดาษจะดูสีคล้ำ และผิวไม่เรียบ

11. กระดาษพาทเม้นท์ (Parchment paper) เป็นกระดาษทำเลียนแบบแผ่นหนังฟอกเยื่อกระดาษใช้เศษผ้าเป็นกระดาษที่ใช้กับงานพิมพ์ที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ยังอาจแบ่งชนิดของกระดาษตามลักษณะผิวของกระดาษโดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด (วันชัย ศิริชนะ,2529:552-554)





ขนาดกระดาษ
(Size of paper)
ในการที่ผู้พิมพิมพ์ประสงค์จะสั่งซื้อกระดาษเพื่อการพิมพ์นั้น ควรจะต้องทราบถึงขนาดมารตฐานของกระดาษที่ประสงค์จะนำมาใช้พิมพ์ เพื่อจะได้สะดวกต่อการคำนวณปริมาณกระดาษที่เราจะซื้อโดยปกติผู้พิมพ์ควรสั่งซื้อกระดาษตามขนาดตามมาตรฐานของกระดาษแต่ละชนิด มากกว่าจะสั่งกระดาษขนาดพิเศษซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ สำหรับขนาดมาตรฐานในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้แบ่งกระดาษออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆโดยแต่ละประเภทจะมีขนาดมาตรฐานดังนี้

ตารางแสดงขนาดมาตรฐาน อเมริกัน

ชื่อกระดาษ   การใช้งาน    ขนาด
1.Newsprint กระดาษบรู๊ฟใช้พิมพ์หนังสือพิมพ์  24x36 นิ้ว
2.Book ใช้พิมพ์หนังสือทั่วไป  25x38นิ้ว
3.Bond ใช้เป็นสมุดเขียน  17x22นิ้ว
4.Cover ใช้ทำปก 20x26นิ้ว
5.Card board ใช้ทำกล่อง 22x28นิ้ว

("Paper",1981:103)

สำหรับในประเทศไทยกระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) ซึ่งใช้พิมพ์หนังสือยกโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาด ได้แก่ ขนาด 34 X 43 นิ้ว และขนาด 25 X 35 นิ้ว จึงมีผลทำให้เกิดหนังสือ 8 หน้ายกธรรมดาและหนังสือ 8หน้ายกเล็ก ตามลำดับ

ในปัจจุบันองค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ(Internationnal Standard Origanization) หรือ ISO ได้พยายามกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยกำหนดขนาดกระดาษรีมให้เป็นระบบมาตรฐานได้แก่การสร้างรูปร่างของกระดาษ ซึ่งเมื่อตัดแบ่งครึ่งแล้วจะได้ส่วน (Proportion)ระหว่างความกว้างกับความยาวคงทุกครั้ง
อัตราส่วนระหว่างความกว้าง : ความยาวจะเท่ากับ
1 : 1.414 เสมอ

ขนาดของกระดาษ มาตรฐาน ซึ่งเรียกว่า กระดาษชุด A เริ่มมด้วย AO มีขนาดความกว้าง x ความยาว เท่ากับ 1 ตารางเมตรพอดี เพื่อเป็นการสะดวกต่อการคิดน้ำหนักเป็นกรัม หรือแกรม/ตารางเมตรอีกด้วย ดังนั้นหน่วยของการวัดกระดาษมาตรฐาน จึงนิยมใช้มาตราเมตริกเสมอ

ตารางแสดงขนาดของกระดาษมาตรฐาน

ชื่อขนาด   ขนาดเป็นมิลลิเมตร ลักษณะการใช้งาน
A0 841x1189 ใช้สำหรับเขียนแบบแปลน
A1 594x841
A2 420x594
A3 297x420
A4 210x297 กระดาษจดหมาย วารสาร บันทึก
A5 148x210 กระดาษจดหมายเล็ก
A6 105x148 โปสการ์ดสากล สมดุพก
A7 74x105 สมุดพกขนาดเล็ก ใบรับหนังสือ
A8 52x74 นามบัตร
A9 37x52 ตั๋วรถไฟ
A10 26x37 แสตมป์
 
กระดาษขนาดมาตรฐาน ชุด A

ข้อดีของกระดาษขนาดมาตรฐาน ชุด A
1. ในการตัดแบ่งกระดาษเพื่อใช้ให้เหมาะสมกับงาน จะเป็นอัดตราแบ่งครึ่งพอดีโดยไม่เหลือเศษทิ้ง
2. ทำให้สามารถคิดน้ำหนักของกระดาษว่าเป็นกี่แรกมได้โดยง่าย เนื่องจากกระดาษ Ao เนื่องจากกระดาษ จะมืพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร พอดี
3. กระดาษขนาดมาตรฐาน มีแนวโน้มที่จะใช้แพร่หลายกันทั่วโลก
แม้ว่าประเทศไทย โดยมติของคณะรัฐมนตรีจะได้ลงมติให้หน่วยราชการต่าง ๆ ใช้กระดาษมาตรฐานในการพิมพ์ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2516 ( ธนิต ผิวนิ่มม 2528 : 83) แต่ในทางปฏิบัติความนิยมในการใช้กระดาษมาตรฐานก็ยังไม่สู้จะเป็นที่นิยมแพร่หลายนัก ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการตัดกระดาษในเมืองไทยนิยมตัดขนาด 31 X 43 นิ้ว ซึ่งไม่ตรงกับขนาดมาตรฐานเมื่อทางผู้พิมพ์จะมาตัดให้เป็นกระดาษชุด A ก็ย่อมจะเหลือเศษนั่นเอง

น้ำหนักกระดาษ (Substand)
ในการเรียกน้ำหนักของกระดาษนั้นมีอยู่ 3 ระบบใหญ่ ๆ
1. หน่วยน้ำหนักเป็นแแกรมหรือกรัม หมายถึงกระดาษขนาดพื้นที่ 1 ตารางเมตร (กระดาษมาตรฐานขนาด Ao)
เมื่อนำไปชั่งน้ำหนักได้กี่แกรม ก็เรียกว่าเป็นกระดาษเท่านั้นแกรม เช่นกระดาษโรเนียว 60 แกรม 80 แกรม เป็นต้น โดยปรกติเวลาเวลาเขียนก็จะต้องเขียน 60 แกรม/ตารางเมตร หรือ 80 แกรม/ตารางเมตรอย่างชัดเจน
2.หน่วยหนักเป็นกิโลกรัม (กก.) เป็นหน่วยสำหรับกระดาษในเมืองไทยโดยเฉพาะโดยแรงงานกระดาษในเมืองไทยจะถือว่ากระดาษขนาด 31 X 43 นิ้ว จำนวน 1 รีมซึ่งจะมีกระดาษจำนวน 500 แผ่น เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้วพบว่า เป็นกี่กิโลกรัม ก็จะเรียกเป็นกระดาษเท่านั้นกิโลกรัม เช่นกระดาษฟอกขาว 27 กก. เป็นต้น
3. หน่วยน้ำหนักเป็นปอนด์ นิยมใช้ทางแถบยุโรปและอเมริกา โดยทางยุโรป และอเมริกาใด้กำหนดกระดาษสำหรับการใช้งานไว้เฉพาะ เช่น กระดาษบรู๊ฟ มีขนาด 24x36 นิ้วถ้านำกระดาษดังกล่าวมา 1 รีม หรือ 500 แผ่น แล้วชั่งน้ำหนักกระดาษทั้งรีมได้กี่ปอนด์ก็ถือว่าเป็นน้ำหนักของกระดาษชนิดนั้น เช่นกระดาษ 80 ปอนด์ กระดาษ 100 ปอนด์ เป็นต้น แต่สำหรัอเมริกาภายหลังได้ถือเอาจำนวนกระดาษ 1,000 แผ่น ต่อการคิดน้ำหนักเป็นปอนด์

 


Rongpim Dot Com Co.,Ltd.
126/176 Soi Watcharapol, Ramintra Road, Tarang,
Bangkhen, Bangkok 10230, Thailand.

Tel./Fax : 0-2945-4861, 081 439 8106
e-mail : info@rongpim.com website : www.rongpim.com

บริษัท โรงพิมพ์ ดอท คอม จำกัด
126/176 ซอยวัชรพล ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง
เขตบางเขน กรุงเทพ ฯ 10230

โทรศัพท์/ โทรสาร : 0-2945-4861
, 081 439 8106
e-mail : info@rongpim.com website : www.rongpim.com

Printing and Leather Premium Gifts services
©2003-2018 Rongpim.com All Rights Reserved
โรงพิมพ์ บน เฟสบุ๊ค